เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านบทอาขยานง่ายๆ และเขียนตามคำบอกได้ สามารถนำคำคำควบกล้ำมาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๙ – ๒๓
..
๒๕๕๙

วรรณกรรมเรื่อง : คุณกบกับคุณคางคก ตอน ไอศกรีม
หลักภาษา  : คำควบกล้ำ
Key Questions :
- นักเรียนมีวิธีคลายร้อนในช่วงฤดูร้อนอย่างไรบ้าง?
- นักเรียนสามารถจำและเขียนคำควบกล้ำได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และคำควบกล้ำ
- Blackboard Share : คำควบกล้ำในนิทาน
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำควบกล้ำ
- หนังสือนิทานคุณกบกับคุณคางคก

วันจันทร์
ชง : ครูอ่านนิทานคุณกบกับคุณคางคก ตอน ไอศกรีม ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ :  นักเรียนเขียนเรื่องย่อ และแต่งตอนจบใหม่
                           วันอังคาร
ชง :  - ครูแจกบัตรคำที่เป็นคำควบกล้ำง่ายๆให้นักเรียนคนละหนึ่งคำ นักเรียนอ่านสะกดคำของตนเองทีละคนพร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น”
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำศัพท์ และรวมกันจัดหมู่หมวดคำ(กล กร กว)
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่คำควบกล้าที่นำมา และที่พบเจอในชีวิตประจำวัน
ใช้ :  นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่จัดหมวดหมู่ลงสมุด
วันพุธ
ชง :  - ครูทบทวนกิจกรรมและการเรียนรู้ เพิ่มเติมคำควบกล้ำที่หลากหลาย
- จับสลากแบ่งกลุ่มเป็น ๔ กลุ่ม ครูให้นักเรียนค้นหาคำควบกล้ำในนิทานคุณกบกับคุณคางคก กลุ่มละ ๒ ตอน
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำควบกล้ำที่แต่ละกลุ่มหาเจอจากนิทาน และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ
ใช้ :  นำคำควบกล้ำที่ได้มาแต่งประโยคคนละ ๕ ประโยค

วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูให้นักเรียนบอกคำควบกล้ำที่ตนเองรู้มาคนละหนึ่งคำ เพื่อเป็นการทบทวนสิ่งที่เรียน
- นักเรียนเขียนแชร์คำศัพท์บนกระดาน

เชื่อม :  ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และการนำคำควบกล้ำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้ : นักเรียนเลือกคำควบกล้ำที่ตนเองรู้จัก มาแต่งเป็นการ์ตูนช่อง
วันศุกร์
ชง : - นักเรียนนำเสนองานการ์ตูนช่องของตนเอง
        - ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
 “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง”,
เชื่อม : ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และผลงานที่ร่วมกันแชร์ของนักเรียน
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- เรื่องย่อและตอนจบใหม่
- สมุดคลังคำศัพท์
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านบทอาขยานง่ายๆ และเขียนตามคำบอกได้ สามารถนำคำคำควบกล้ำมาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม




ตัวอย่างชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๗ ของการเรียนรู้ ให้พี่ๆ อ่านนิทานด้วยตัวเอง พบว่าพี่ๆ แต่ละคนมีความตั้งใจ และพยายามในการอ่านมากกว่าตอนเริ่ม Quarter เห็นพัฒนาการในการอ่านของพี่ที่ตอนแรกอ่านไม่ได้เลย ชอบหลีกเลี่ยงเวลาอ่าน แต่ตอนนี้พี่มีความอดทนในการอ่านมากขึ้น เข้ามาหาครูให้ครูพาอ่านมากขึ้น เริ่มอ่านเอง และเขียนเองได้บ้างแล้ว ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนในช่วง Quarter แรก และหลังจากลงหลักภาษา พบว่า มีแค่พี่บางคนที่อธิบาย และเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนได้ หลังจากที่ใช้คำถามกระตุ้นคิดไปว่า “พี่คิดว่าคำควบกล้ำคืออะไร” พี่โอบอ้อม “เป็นคำที่ออกเสียงสองเสียงไปด้วยกันค่ะ” พี่แก้ม “เป็นคำที่ต้องอ่านด้วยกันสองตัวค่ะ” แล้วก็มีคำตอบอีกหลากหลาย หลังจากที่ชง เล่มเกม ทำแบบฝึกหัด และให้หาคำศัพท์(คำควบกล้ำ) ในนิทานคุณกบกับคุณคางคก ก็พบอีกว่าพี่ๆ เข้าใจว่าคำที่มี ห นำ – อ นำ เป็นคำควบกล้ำเหมือนกัน ได้อธิบายกับพี่ๆ ไปแล้วบ้างว่าคำทั้ง ๒ ชนิดนี้ต่างกัน และอาจเป็นเพราะเรื่องคำควบกล้ำอาจจะยากไปสำหรับตอนนี้ แต่ที่ครูคิดไว้ คือจะเพิ่มเติมเรื่องนี้ให้กับพี่ๆ ทุก Quarter เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความยากง่ายไปด้วยในตัว และถ้าจะดีกว่านี้ ถ้าให้พี่ๆ ทำชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ อย่างเช่น ทำเป็นสมุดสะสมคำศัพท์ไว้เพิ่มเติม เมื่อเราเจอคำศัพท์ใหม่ๆ พี่ๆ จะได้หยิบสมุดคำศัพท์มาเพิ่มเติม และทบทวนได้ด้วย

    ตอบลบ