เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถใช้พจนานุกรมได้อย่างถูกวิธี และใช้ค้นหาคำศัพท์ใหม่จากวรรณกรรมได้กว้างขวาง รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๒ ๑๖
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : คุณกบกับคุณคางคก ตอน หัวมุม
หลักภาษา  :  การใช้พจนานุกรม
Key Questions :
- นักเรียนเห็นอะไรจากการเดินทางของคุณกบบ้าง?
- นักเรียนสามารถหาความหมายของคำที่ถูกต้องได้จากที่ใดบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน และการใช้พจนานุกรม
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- พจนานุกรม
- หนังสือนิทานคุณกบกับคุณคางคก

วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานคุณกบกับคุณคางคก ตอน หัวมุม ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนอ่านออกเสียง
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปเรื่องราวตามมุมการเดินทางของคุณกบ
                           วันอังคาร
ชง : - ครูนำพจนานุกรมทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษมาให้นักเรียนดู
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเกี่ยวกับลักษณะ และการใช้งานพจนานุกรมทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานพจนานุกรมทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และการค้นหาในแหล่งข้อมูลต่างๆ
ใช้ :  ครูกำหนดคำศัพท์ คำ แล้วให้นักเรียนลองค้นหาความหมายจากพจนานุกรม
วันพุธ
ชง : - ครูทบทวนเรื่องการใช้พจนานุกรมอีกครั้ง และให้นักเรียนลองค้นหาคำศัพท์ง่ายๆ
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม ช่วยกันหาความหมายจากคำที่ครูเตรียมไว้ให้ แต่ละกลุ่มจะได้ไม่เหมือนกัน
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากแต่ละกลุ่มช่วยกันหาความหมายของคำ และนำเสนอของกลุ่มตัวเอง
ใช้ : นักเรียนนำคำที่กลุ่มตนเองได้มาแต่งประโยค ๕ ประโยค
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ (พจนานุกรมประเภทต่างๆ,พจนานุกรมออนไลน์,ห้องสมุด)
      - นักเรียนเขียนตามคำบอก ๑๐ คำ จากในพจนานุกรม
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก สังเกตการณ์สะกดคำ การออกเสียงคำในคำศัพท์ พร้อมแลกเปลี่ยนการสื่อความและการนำไปใช้
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง/ “การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ

ภาระงาน
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การทำสมุดคำศัพท์เล่มเล็ก
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- สรุปเรื่องราวการเดินทางของคุณกบ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : นักเรียนสามารถใช้พจนานุกรมได้อย่างถูกวิธี และใช้ค้นหาคำศัพท์ใหม่จากวรรณกรรมได้กว้างขวาง รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างกิจกรรม







ตัวอย่างชิ้นงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๖ ของการเรียนรู้ สำหรับการสอนใช้พจนานุกรมอาจจะไม่เหมาะสำหรับพี่ ป.๑ แต่พี่ๆ ก็เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง โดยรู้ว่าพจนานุกรมใช้สำหรับค้นหาคำ หรือความหมายต่างๆ แต่ยังใช้ไม่ค่อยเป็น และด้วยจำนวนสื่อที่มีน้อยทำให้พี่ๆ ไม่ได้ลองใช้ทุกคน ปรากฏการณ์พิเศษที่พบหลังจากสอนเรื่องนี้พี่ๆ บางส่วนสนใจอยากยืมพจนานุกรมกลับบ้าน เข้ามาขอครูดูบ้าง วันที่เหลือจะเน้นเรื่องการอ่านและเขียน สังเกตจากการอ่านพี่ๆ เริ่มอาจได้ด้วยตัวเองบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีช้าอยู่ เสริมเรื่องการอ่านโดยหลังพิธีนม ให้พี่ๆ ที่ยังช้ามาอ่านเสริมง่ายๆ กับครู แต่ก็ได้ไม่เติมที่นัก ด้วยวัยที่ยังติดเล่น ทำให้เขาสนใจฝึกตัวเองน้อย สำหรับเรื่องการเขียน เหมือนๆ กับการอ่าน ถ้าให้เขียนด้วยตัวเองอาจจะยังไม่ค่อยได้ ต้องพาเขาสะกดไปด้วย จะดีกว่านี้ถ้าครูเพิ่มแบบฝึกให้กับพี่ที่ยังช้า ให้เขาฝึกเขียนฝึกอ่านโดยที่ผู้ปกครองจะได้รู้ด้วยว่าลูกตัวเองได้ขนาดไหน จะได้ช่วยเพิ่มเติมต่อยอดไป

    ตอบลบ