เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถเขียนแจกลูกคำ และสะกดคำได้ถูกต้อง นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๕ – ๑๙
ส.ค.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานอีสป (สิงโตกับกระต่าย)
หลักภาษา  : การแจกลูก สะกดคำ
Key Questions :
- ถ้านักเรียนเป็นสิงโต นักเรียนจะเลือกกินอะไร เพราะเหตุใด?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตารางการผันอักษร
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการผันอักษร
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนิทาน การผันอักษร และอักษรสามหมู่
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพ
- บัตรคำ
นิทานอีสป(สิงโตกับกระต่าย)
วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานอีสป(สิงโตกับกระต่าย) ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และวาดภาพประกอบ
วันอังคาร
ชง : ครูนำบัตรคำศัพท์ที่ได้จากนิทาน และคำพื้นฐานของ ป.๑ มาให้นักเรียนช่วยกันอ่านสะกดคำ
- ครูแจกบัตรคำศัพท์ให้นักเรียนคนละแผ่น แล้วให้นักเรียนเขียนแจกลูกคำตามความเข้าใจ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแจกรูปคำ และการสะกดคำที่ถูกต้อง
ใช้ : นักเรียนนำเสนอบัตรคำของตนเอง
วันพุธ
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมและการแจกลูกคำ ครูเขียนคำศัพท์ที่จะให้นักเรียนช่วยกันเติมไว้บนกระดาน
 - นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น ๔ กลุ่ม เล่นเกมแจกลูกคำให้สมบูรณ์(หอม : หอ- ออ-มอ = หอม)
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากการเล่นเกม ทบทวนการอ่านออกเสียง การสะกดคำ และการแจกรูปคำ
ใช้ :  นักเรียนเลือกคำศัพท์จากการเล่นเกมมาแต่งประโยค คำ
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูเล่านิทานอีสป(สุนัขจิ้งจอกหางด้วน) ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนบอกข้อคิดที่ได้จากเรื่องต่อกันทีละคน
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
ภาระงาน
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมสะกดคำ
- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
- บัตรคำ
- ประโยคจากคำศัพท์
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
ความรู้ : นักเรียนเข้าใจและสามารถเขียนแจกลูกคำ และสะกดคำได้ถูกต้อง นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม









ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้พี่ ป.๑ ได้อ่านนิทานอีสป เรื่องสิงโตกับกระต่าย และสุนัขจิ้งจอกกับผลองุ่นในวันจันทร์ ให้อ่านสองเรื่อง พี่ๆ อ่านได้ดีขึ้น สามารถตอบคำถาม เล่าเรื่องราวได้ดี และสามารถบอกสิ่งที่ได้จากเรื่องได้ หลังจากที่อ่านเสร็จแล้ว ให้พี่ๆ ช่วยกันสรุปเรื่องราวแบบย่อๆ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นคิดประกอบ วันอังคาร ลงหลักภาษาเรื่องการแจกลูกคำ และการสะกดคำ กำหนดคำให้แล้วพี่ๆ บอกว่าตัวไหนคือ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ อย่างเช่น แก้ว : ก แ- ว - ,น้ำตา : น –ำ - ต – า เป็นต้น ครูกำหนดให้หลากหลาย เพื่อที่จะได้รู้ว่าพี่ๆ จำสระที่ใช้สะกดในคำนั้นๆ ได้ไหม พี่ๆบางคนจำได้ แต่ไม่หมด และบางคนได้แต่สระง่ายๆ ทำให้ครูรู้ว่าจะต้องทบทวนเรื่องสระกับพี่ๆ ให้มากกว่านี้ วันพุธ ทบทวนเรื่องสระที่ใช้ประจำ และให้พี่ๆทำ Web คำศัพท์ที่ได้จากสระที่กำหนดให้ เป็นสระที่พี่ๆ ใช้ประจำ แต่ยังจำคำศัพท์ที่ใช้สระเหล่านี้ยังไม่ค่อยได้ วันพฤหัสบดี ให้พี่ๆ อ่านหนังสือนิทานอีสปอย่างอิสระ อ่านกี่เรื่องก็ได้ สามารถไปอ่านข้างนอก หามุมเป็นของตัวเอง เมื่ออ่านเสร็จแล้วมาเล่าเรื่องราวให้ครูฟัง ว่าเรื่องราวเป็นยังไง มีตัวละครอะไรบ้าง และเรื่องที่อ่านให้อะไรแก่เรา พี่ๆสามารถอ่านด้วยตัวเองได้ และเล่าเรื่องราวได้ อาจมาถามครูบ้างว่าคำนี้อ่านว่าอะไร สำหรับที่อ่านไม่ค่อยคล่องครูก็ช่วยพาอ่านไปพร้อมๆ กัน

    ตอบลบ