เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและแต่งประโยคได้อย่างถูกต้อง นำประโยคมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
ก.ย.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : คุณกบกับคุณคางคก ตอน จดหมาย
หลักภาษา  : - ประโยค
    - การแต่งประโยค
Key Questions :
- สิ่งที่คุณกบทำ ทำให้คุณคางคกรู้สึกอย่างไร แล้วถ้ามีคนทำอย่างนี้ให้นักเรียนบ้าง นักเรียนจะรู้สึกอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าการอ่าน เขียน และการใช้ประโยคที่ถูกวิธีทำได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตารางแยกประโยค
- Show and Share : นำเสนอแถบประโยคที่สมบูรณ์ 
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพ
- แถบประโยค
- หนังสือนิทานคุณกบกับคุณคางคก


วันจันทร์
ชง : ครูเล่านิทานคุณกบกับคุณคางคก ตอน จดหมาย ให้นักเรียนฟัง นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนจดหมายอย่างง่ายๆ เล่าเรื่องที่ประทับใจให้กับเพื่อนในห้อง โดยการจับสลากชื่อเพื่อน
                           วันอังคาร
ชง : - ครูนำประโยคมาแยกเป็นคำๆ แล้วนำไปติดในที่ต่างๆ
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเล่นเกมตามหาคำมาเติมประโยคให้สมบูรณ์ โดยครูเป็นผู้ถือแถบประโยคที่มีช่องว่างไว้ ให้นักเรียนหามาเติมที่ละคำ
- แต่ละกลุ่มนำเสนอประโยคของตนเอง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์เกี่ยวกับประโยคที่สมบูรณ์แล้วของแต่ละกลุ่ม
ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนเขียนประโยคของทุกกลุ่มลงสมุด
วันพุธ
ชง :  - ทบทวนกิจกรรมเมื่อวาน และให้นักเรียนเขียนตามคำบอกแบบเป็นประโยคง่ายๆ ๑๐ ประโยค (ดาวกินข้าว,ดินหาปลา ฯลฯ)
เชื่อม : - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และตรวจสออบความถูกต้องเกี่ยวกับประโยคที่นักเรียนเขียน ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าส่วนประกอบของประโยคมีอะไรบ้าง จากประโยคที่เราเขียนสามารถแยกอย่างไรได้บ้าง?
ใช้ : นักเรียนเขียนตารางแยกประโยค โดยนำประโยคที่เขียนตามคำบอกไปใส่ให้ถูกช่อง
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ และเขียนตารางแยกประโยค(ประธาน+กริยา+กรรม)ให้นักเรียนไว้บนกระดาน
- ครูนำบัตรคำที่แยกมาจากประโยคมาวางไว้ตรงกลางห้อง
- นักเรียนช่วยกันนำบัตรคำไปติดในช่องตารางให้ถูกต้อง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และวิเคราะห์เกี่ยวกับการแต่งประโยคที่ถูกวิธี
ใช้ : นักเรียนเลือกประโยคที่ตนเองชอบมา ๓ ประโยค นำมาแต่งนิทาน พร้อมวาดภาพประกอบ
วันศุกร์
ชง : ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ และจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง/ “การเขียน การอ่าน การพูดโดยใช้คำที่ถูกต้องส่งผลต่อเราอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน และหลักภาษา
ใช้ : นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตามความสนใจ
ภาระงาน

- การพูดอธิบายลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการทำความดีให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- จดหมาย
- ตารางประโยค
- นิทานเกี่ยวกับประโยค
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (วาดภาพ นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)

ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านและแต่งประโยคได้อย่างถูกต้อง นำประโยคมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม




 ตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๕ ของการเรียนรู้ ปรากฏการณ์พิเศษที่พบ หลังจากลงหลักภาษา พบว่าพี่ๆ ป.๑ สามารถคิดคำศัพท์เพื่อเติมคำที่ครูให้เพียงคำเดียวได้อย่างหลากหลาย เช่น ครูให้คำว่า ปลา ให้พี่ๆ เติมข้างหน้า และข้างหลังให้ ก็จะได้เป็น แม่ปลาบู่ทอง , ลูกปลาทอง ในขณะที่สอน ก็มีคำศัพท์ที่เป็นสระลดรูป ซึ่งสอนในสัปดาห์ที่แล้ว พี่แก้มกับพี่ต้นกล้า จำได้และอธิบายได้อย่างฉะฉาน แสดงว่าเรื่องที่สอนไป พี่ๆ จำได้ และสามารถนำมาใช้ได้อีกด้วย สิ่งที่พบอีกประการหนึ่ง คือ พี่ๆ ไม่รู้จักการเขียนตัวบรรจงเต็มบรรทัด ครูพูดไปทุกคนดูเหมือนไม่เข้าใจ ครูก็ได้อธิบายไป และลองให้พี่ๆ คัดไทยดู จะดีกว่านี้ถ้าครูหากิจกรรมที่พี่ๆ ได้มีส่วนร่วมด้วยทุกคน และครูจะเพิ่มการคัดลายมือ ฝึกเขียนให้กับพี่ๆ เรื่อยๆ

    ตอบลบ