เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week1

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๑
..
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง : นิทานอีสป เรื่อง มดกับนกพิราบ
 - ทบทวนสิ่งที่รู้แล้ว ทบทวนหลักภาษา
- นิทานอีสป (มดกับนกพิราบ)
หลักภาษา  :  พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์
Key Questions :
นักเรียนเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง คิดว่านิทานเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?
- ถ้านักเรียนเป็นนกพิราบ นักเรียนจะหาวิธีช่วยมดได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ (นิทาน)
พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- บัตรภาพ/บัตรคำ
หนังสือนิทานอีสป (มดกับนกพิราบ)
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนทักทาย ร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำในช่วงปิดเรียน
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ผ่านมาใน Quarter1 และสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมใน Quarter2
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมา และสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม
วันอังคาร
ชง : ครูให้นักเรียนดูหน้าปกนิทาน พร้อมใช้ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง คิดว่านิทานเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเขียนคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับนิทานพร้อมวาดภาพประกอบ
วันพุธ
ชง : ครูเล่านิทานอีสป (มดกับนกพิราบ) ให้นักเรียนฟัง แล้วนักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมๆ กันอีกครั้ง
เชื่อม :  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไรสร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องสรุปความเข้าใจ
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูทบทวนการเรียนรู้เกี่ยวกับพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ โดยให้นักเรียนจับคู่บัตรภาพพยัญชนะกับบัตรคำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจับคู่ และการใช้พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ในชีวิตประจำวัน
         -
นักเรียนนำเสนอบัตรคำหรือบัตรภาพตนเอง แล้วบอกพยัญชนะที่ได้คือตัวใด อ่านว่าอย่างไร
ใช้ : นักเรียนทำใบงาน (เติมพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้สมบูรณ์)
วันศุกร์
หยุดวันแม่
ภาระงาน
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- การสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ชิ้นงาน
- เขียนคาดเดาเรื่อง
- แผนภาพความคิดสรุปเรื่องราว
- ใบงาน

ความรู้ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด
- สามารถคาดเดาเรื่องราวจากปกวรรณกรรมได้อย่างน่าสนใจ
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม





ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์แรกของ Quarter2 วันแรกทบทวนการบ้านและให้ดูหน้าปกวรรณกรรม “คุณกบกับคุณคางคก” และคาดเดาเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นภายในเรื่อง พี่ ป.๑ เคยอ่านและเคยฟังมาบ้างแล้วจึงคาดเดาจากตอนที่ตนเองชอบ หรือที่ตนเองจำได้เป็นส่วนใหญ่ วันต่อมาพี่ๆ ได้อ่านนิทานอีสป เรื่อง “มดกับนกพิราบ” สิ่งที่พบตอนให้อ่าน คือ พี่ที่อ่านได้แล้วก็จะไปเร็ว หรืออ่านเองไปคนเดียว ไม่รอเพื่อนที่ยังอ่านไม่ได้ ส่วนเพื่อนที่อ่านยังไม่ค่อยได้ ก็พยายามที่จะอ่านตามให้ทัน มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่สนใจ ส่วนใหญ่ถึงจะอ่านไม่ค่อยได้ก็มีความพยายามที่จะตามให้ทันเพื่อน ครูลองให้พี่ๆ ทำแบบฝึกหัดเขียนสะกดคำตามการออกเสียง โดยกำหนดพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้แล้ว อย่างเช่น ขอ – ออ – ขอ – ไม้โท = ข้อ , ปอ – อา – ปา – ไม้เอก = ป่า เป็นต้น ปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เพราะไม่เคยทำแบบนี้ แบบฝึกหัดอาจจะยากไป แต่ก็มีบางคนที่ทำได้ นั่นแสดงว่าแบบฝึกนี้ไม่เหมาะกับพี่ๆ สักเท่าไร ควรเริ่มจากการเขียนสะกดแบบง่ายๆ ก่อนไปหาสิ่งที่ยากขึ้น ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญอย่างวันแม่ ครูพาพี่ๆ ทำมือสื่อรักให้กับคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นแม่ พ่อ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย หรือใครก็ตามที่เรารัก สามารถทำสิ่งนี้สื่อแทนคำพูดของเราได้ เป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงเข้ากับวิชาภาษาไทยได้ด้วย

    ตอบลบ